ไซนัสไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ไซนัส คือ ช่องของโพรงอากาศที่อยู่ภายในกระโหลกศีรษะบริเวณใบหน้าของมนุษย์เรา 

โดยแต่ละคนจะมีด้วยกันประมาณ 4 คู่ 

  • บริเวณโหนกแก้มข้างจมูก 
  • และบริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา 
  • บริเวณหน้าผาก
  • และส่วนกลางกะโหลกศีรษะ 
ไซนัส ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

โพรงอากาศตรงนี้จะเป็นที่ว่างเปล่า แต่จะมีเยื่อเมือกบางๆ ชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูกกั้นอยู่บริเวณตำแหน่งนี้

โดยทั่วไปแล้ว ไซนัสจะมีรูขนาดเล็กช่วยให้อากาศภายในสามารถไหลเวียนได้ แต่หากอุดตันเพราะการบวมของเยื่อบุจากหวัด หรือ ภูมิแพ้ จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำมูกภายในโพรงจมูกของพวกเรา 

โดยสิ่งนั้นเองจะสร้างให้เชื้อโรคมีการเติบโตขึ้น จนเกิดการ อักเสบป็นหนองในโพรงไซนัส หรืออาจเกิดจากการอักเสบของรากฟัน แล้วลุกลามไปในไซนัสก็ได้

โดยอาการอักเสบของไซนัสมักเริ่มจากโรคหวัดหรือภูมิแพ้ ได้แก่ 

  • การมีน้ำมูก 
  • การคัดจมูก 
  • และการไอจาม 

อาการที่บ่งชี้ชัดตามมาก็ คือ 

  • การปวดศีรษะ 
  • ปวดบริเวณโพรงจมูกที่อักเสบ 
  • และบางครั้งก็มีอาการมึนศีรษะเกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกหรือแน่นจมูก

โดยผู้ที่เป็นจะมีอาการแบบนี้อยู่ตลอดเวลา  แม้จะทานยาแล้วก็ตาม และในบางครั้งน้ำมูกของผู้ป่วยก็ไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางรายที่มีอาการค่อนข้างมาก อาจจะได้กลิ่นเหม็นข้างในจมูกของเรา 

ซึ่งสามารถสังเกตตัวเองได้ว่า มีไข้สูงจนหนาวสั่น, ไอเรื้องรัง หรือมี เสมหะหรือไม่สำหรับผู้ป่วยที่ยังเป็นเด็ก อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการหูอักเสบเรื้อรังก็เป็นได้

อาการปวดไซนัสของเราจะรู้สึก มากในเช้าหลังตื่นนอน เพราะขณะนอนหลับนั้นจะเกิดการคั่งค้างของเชื้อโรค  โพรงไซนัสทำให้การถ่ายเทอากาศในโพรงไซนัสไม่ดี จนเกิดการสะสมของของเหลวจำนวนมาก

ต่อไปนี้เราจะพูดถึง อาการไซนัสอักเสบ โดยการตรวจจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1) การตรวจโดยใช้เครื่องมือสำหรับ หู คอ จมูก ซึ่งมักพบหนองในบริเวณดังกล่าว 

2) การตรวจโดยใช้กล้องส่องในจมูกซึ่งสามารถบอกถึงตำแหน่งที่เกิดการอักเสบหรือสาเหตุการอุดตันได้ 

3) การถ่ายภาพทางรังสี

หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันที และแต่ละวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรค  และระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นมา บางคนเป็นมานานแต่บางคนพึ่งมีอาการ โดยแบ่งเป็นการรักษาทางการให้ยา และการรักษาด้วยวิธีเจาะ ล้าง รวมถึงการผ่าตัด

เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มากและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะหายขาดได้ใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากมีอาการเรื้อรังมาเป็นเวลานาน พอสมควรแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฎิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด 

หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ แม้ผู้ป่วยในบางคนจะมีอาการเรื้อรังมาก มาจากภูมิแพ้แต่ก็สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติได้ โดยพยายาม หลีกเลี่ยงจากมลภาวะ ฝุ่น ควัน และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการออกกำลังายอย่างสม่ำเสมอ

Green Mulon
แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0