แร่ธาตุสำคัญ… ที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันและไม่สามารถสะสมได้

BELIEVE THE TRUTH

แร่ธาตุสำคัญ... ที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันและไม่สามารถสะสมได้

แร่ธาตุที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันและไม่สามารถสะสมได้

เช่นเดียวกับไวตามินซีที่ร่างกายไม่สามารถสะสมได้

..สังกะสีเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ชีวิตของคุณยืนยาวมากกว่าที่คิด….

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่สำคัญซึ่งอาจเป็นที่ทราบกันดีว่ามีบทบาทสำคัญที่สุดในระบบภูมิคุ้มกันและการป้องกันและรักษาโรคหวัด นอกเหนือจากธาตุเหล็กแล้วสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายของคุณซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ทุกชนิด

สังกะสีใช้ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อและมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกล้ามเนื้อหัวใจของคุณเช่นเดียวกับที่แคลเซียมกระทำเพื่อการกระตุ้นทางไฟฟ้าที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจของคุณ (1)

ธาตุสังกะสี

นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในรากฐานสำหรับโปรตีนประมาณ 3,000 ชนิดและเอนไซม์ 200 ชนิดในร่างกายของคุณ การวิจัยล่าสุดได้ระบุบทบาทของสังกะสีว่ามีส่วนในการปกป้อง DNA ของคุณ(2)

อย่างไรก็ตาม.. ในขณะที่มันมีความจำเป็น..โปรดรับรู้ไว้ว่า .!! ร่างกายของคุณไม่ได้เก็บสะสมสังกะสี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องได้รับอย่างเพียงพอจากการบริโภคในแต่ละวันของคุณ นอกจากนี้การได้รับมากเกินไปอาจเป็นอันตรายเช่นเดียวกับการได้รับน้อยเกินไป

สังกะสีอาจลดความเสียหายของ DNA

Strand DNA อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายของคุณและเป็นพิมพ์เขียวที่เซลล์ของคุณใช้ในระหว่างการจำลองแบบ จนกระทั่งเมื่อโตเต็มที่ร่างกายของคุณจะมีความสามารถในการสร้างดีเอ็นเอใหม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปดีเอ็นเอก็เสื่อมลงและในที่สุดก็ทำให้เกิดการสลายตัว การวิจัยล่าสุดระบุบทบาทของสังกะสีว่ามีส่วนในการชะลอการเสื่อมสภาพของดีเอ็นเอ

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้กำหนดจำนวนที่แนะนำของวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารต่อวันที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะประสบกับอาการขาดสารอาหาร แต่อย่างไรก็ตามการไม่แสดงอาการของการขาดสารอาหารที่ไม่เพียงพอให้วินิจฉัย ไม่ได้สนับสนุนการมีสุขภาพที่ดีที่สุด

ระดับที่แนะนำสำหรับสังกะสีจะแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และการดูดซึม การใช้งานและความต้องการของแร่ธาตุอื่น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้เช่นกัน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (UCSF) โรงพยาบาลเด็ก Benioff สถาบันวิจัยโอคแลนด์ (CHORI) เริ่มทำการศึกษาด้วยความตั้งใจที่จะวัดผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณสังกะสีเพียงเล็กน้อยในอาหารว่ามีผลต่อการเผาผลาญอาหารของร่างกายหรือไม่

Janet King, Ph.D. , ทำการศึกษาที่ชาย 18 คนโดยการให้กินข้าวและอาหารที่มีสังกะสีต่ำเป็นเวลาหกสัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังการทดลองนักวิจัยได้วัดตัวบ่งชี้เช่นความเสียหายของดีเอ็นเอ ความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบของดีเอ็นเอ (3)

เมื่อผู้เข้าร่วมทดลองเพิ่มการบริโภคสังกะสีมากขึ้น นักวิจัยพบว่ามีการลดลงของความผิดปกติของดีเอ็นเอเม็ดเลือดขาว นั่นแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มสังกะสีอาจช่วยลดการสึกหรอของดีเอ็นเอในชีวิตประจำวัน (4)

“เรารู้สึกประหลาดใจที่ได้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของสังกะสีในอาหารเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเผาผลาญอาหารทั่วร่างกาย ผลลัพธ์เหล่านี้ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ในการวัดผลกระทบของสังกะสีต่อสุขภาพและเสริมสร้างหลักฐานว่าการแทรกแซงจากการใช้อาหารสามารถปรับปรุงข้อบกพร่องด้านการขาดสารอาหารได้ทั่วโลก “

ในขณะที่การเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีสังกะสีอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ แต่การเสริมสังกะสีในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ใช่วิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณ ความไม่สมดุลของสังกะสีและทองแดงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ

ร่างกายของคุณมีระบบที่ประณีตเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างแร่ธาตุในระบบของคุณ อาทิเช่นเหล็ก สังกะสี ทองแดงและโครเมียม การบริโภคแร่ธาตุเหล่านี้ในอาหารของคุณช่วยรักษาความสมดุลให้เหมาะสมในขณะที่การเสริมด้วยอาหารเสริมสามารถสร้างความไม่สมดุลของการมีมากเกินไปในบางตัวและไม่เพียงพอของอีกหนึ่ง

ในปี 2011 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่แสดงถึงอันตรายจากการกินสังกะสีส่วนเกินจากกาวที่ใช้ทำฟันปลอม (5)

สังกะสีส่วนเกินอาจนำไปสู่การขาดทองแดงเนื่องจากรูปแบบการดูดซึมในทางเดินอาหารมีความคล้ายคลึงกัน การแข่งขันเพื่อการดูดซึมอาจส่งผลให้ได้รับสังกะสีเพิ่มขึ้นและทองแดงลดลง สังกะสีมากเกินไปอาจนำไปสู่อาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะและไม่อยากอาหาร (6)

..การได้รับสังกะสีจากอาหาร มีนัยสำคัญที่จะช่วยลดศักยภาพของการกินเกินขนาด..

การขาดสารทองแดงอาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร ก่อภาวะทุพโภชนาการหรือการมีสังกะสีส่วนเกินในระบบของคุณ (7) การบริโภคสังกะสีสูงอาจทำให้เกิด metallothionein : เป็นโปรตีนในลำไส้ของคุณที่เกาะกับโลหะบางชนิดและป้องกันการดูดซึม

เซลล์เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับทองแดงมากกว่าสังกะสี และนี่เป็นวัฏจักรที่การบริโภคสังกะสีทำให้เกิดการพัฒนาเซลล์ metallothionein ซึ่งจะลดปริมาณทองแดงที่ดูดซึม

หนึ่งในอาการที่พบมากขึ้นของการมีทองแดงไม่เพียงพอคือโรคโลหิตจาง ในกรณีนี้ภาวะโลหิตจางจะไม่ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของธาตุเหล็ก…แต่จะดีขึ้นด้วยการเสริมทองแดง

การขาดทองแดงอาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำลง (neutropenia) ซึ่งจะไปเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ

ความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาดทองแดงได้แก่ โรคกระดูกพรุน ทารกที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและการสูญเสียของเซลล์ผิวหนัง

..สังกะสีช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของคุณ..

ระบบภูมิคุ้มกัน

สังกะสีที่ไม่เพียงพอในอาหารอาจเพิ่มศักยภาพในการติดเชื้อของคุณ หากไม่มีสังกะสี..เซลล์เม็ดเลือดขาวของคุณจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและกระบวนการอื่น ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน Neutrophils, phagocytosis, การผลิตแอนติบอดีและแม้แต่การควบคุมยีนในลิมโฟไซต์ของคุณจะได้รับผลกระทบจากสังกะสี(10)

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังคงศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่อการจัดหาสังกะสีที่เพียงพอในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาจลดระยะเวลาในเป็นไข้หวัดของคุณลงได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณขาดแคลนสังกะสี (11)

ในแต่ละปีจะมีไวรัสประมาณ 200 ชนิดที่แตกต่างกันซึ่งก่อให้เกิด “ไข้หวัด” สังกะสีนอกจากจะช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของคุณแล้ว ดูเหมือนว่ามันจะมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสที่ป้องกันไม่ให้ไวรัสจำลองและเกาะติดกับเยื่อหุ้มจมูกของคุณได้ (12)
นักวิจัยยังได้ค้นพบอีกว่าสังกะสีอาจมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ที่ช่วยให้ร่างกายของคุณมีการตอบสนองครั้งแรกอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มมีอาการ (13)

การบริโภคสังกะสีในอาหารที่เพียงพออาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้

ผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดการณ์ว่ามีคนขาดสังกะสีมากถึงร้อยละ 12 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้สูงอายุถึงร้อยละ 40 เนื่องจากการดูดซึมที่ไม่ดีและการบริโภคอาหารที่น้อยลง (14) สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการลดความเครียดจากการใช้ออกซิเจนและช่วยดีเอ็นเอในการซ่อมแซมโดยเฉพาะเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ตามที่ Emily Ho, Ph.D. , รองศาสตราจารย์ที่ Linus Pauling Institute จาก Oregon State University กล่าวว่า : (15)

“ข้อบกพร่องเกี่ยวกับสังกะสีเกิดขึ้นนอกเหนือการตรวจจับเพราะเรารู้ไม่มากเกี่ยวกับกลไกเหล่านี้ซึ่งควบคุมการดูดซึม บทบาทของมันหรือแม้แต่การทดสอบในคนที่มีความถูกต้องแม่นยำ”
บทบาทของสังกะสีในการป้องกันภาวะเครียดจากการใช้ออกซิเจนอาจอธิบายได้ว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับสังกะสีสูงจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ลดลง (16)

การศึกษาร่วมกันของนักวิจัยจากนิวซีแลนด์และออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีระดับสังกะสีในเลือดระหว่าง 14 ไมครอนถึง 18 ไมครอนต่อลิตรมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยที่สุด [17] การเพิ่มปริมาณสังกะสีในอาหารของคุณจะช่วยปรับปรุงโรคเบาหวานเช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นและลดความเข้มข้นของไขมัน

..สังกะสีมีความสำคัญต่อการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท..

รสชาติ กลิ่นและการมองเห็นเป็นการทำงานของประสาทสัมผัส 3 แบบซึ่งสังกะสีมีบทบาทสำคัญ ทั้งรสชาติและกลิ่นมีความสำคัญต่อความกระหายของคุณดังนั้นการขาดสารอาหารอาจลดความต้องการกินของคุณ สิ่งนี้สำคัญมากในคนที่ประสบโรคมะเร็ง การขาดธาตุสังกะสีและการสูญเสียความกระหายอาจเป็นผลมาจากยาเคมีบำบัดบางชนิดและการรักษาด้วยรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง

ในการทบทวนงานวิจัย นักวิจัยพบว่ามีความหลากหลายของความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับรสชาติอันเกิดจากการขาดสังกะสี [18]

สังกะสีมีความสำคัญต่อการผลิต Metalloenzyme carbonic anhydrase
(CA) VI.(19) เมื่อมีการขาดสังกะสี เอนไซม์นี้จะไม่เกิดขึ้นในปริมาณที่พอเหมาะและทำให้สูญเสียการรับรสและต่อมาความอยากอาหาร

ระบบการรับรสและกลิ่นของคุณใช้ CA VI เป็นปัจจัยการเจริญเติบโต แต่มันก็มีบทบาทสำคัญใน Apoptosis (การตายของเซลล์)หากคุณมีภาวะขาดธาตุสังกะสี apoptosis จะเพิ่มขึ้นในร่างกายของคุณและเซลล์ในการรับรสและกลิ่นของคุณจะตายอย่างผิดปกติและรวดเร็ว การมีสังกะสีมากเกินไปจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิด apoptosis และการตายของเซลล์เหล่านี้ (20)

สังกะสียังทำงานร่วมกับวิตามินเอเพื่อช่วยให้ดวงตาของคุณรู้สึกถึงความสว่างและส่งแรงกระตุ้นของเส้นประสาทที่เหมาะสมไปยังสมองเพื่อแปลความ (21) เรตินาของคุณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสายตาประกอบขึ้นด้วยเนื้อเยื่อที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว (22) Reactive oxygen species (ROS) อาจเริ่มปฏิกิริยาลูกโซ่ของไขมัน -peroxidation ซึ่งทำร้ายเรตินาและสายตาของคุณ

นักวิจัยพบว่าการขาดสังกะสีในระดับปานกลางทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชั่นในเรตินาและแนะนำว่าสังกะสีอาจจะป้องกันการเกิด lipid peroxidation ของเยื่อม่านตาได้ (23) ในขณะที่ความเครียดจากการเกิดออกซิเดชันในจอตา (retina membranes) ถูกค้นพบ
แต่บทบาทของสังกะสีในการเสื่อมสภาพตามอายุยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างแน่ชัด [24] เช่นเดียวกับอาการอื่น ๆ ของการขาดธาตุสังกะสี ดูเหมือนว่าอาการเกี่ยวกับดวงตาเหล่านี้จะกลับมาได้เมื่อระดับเลือดกลับมาสู่ภาวะปกติโดยการรับประทานอาหารที่แท้จริง

..ปรับปรุงปริมาณสังกะสีของคุณด้วยอาหาร..

สุขภาพของคุณอยู่ภายใต้การล้อมจากทุกทิศทางของสารพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารที่ผ่านกระบวนการ อาหารที่ไม่ใช่อาหารของสุขภาพที่ดีและคุณแทบจะไม่สามารถที่จะป้องกันตัวเองได้เลย…เว้นแต่คุณจะได้รับข้อมูลด้านสุขภาพที่ทันสมัย

วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปรับระดับสังกะสีของคุณคือการกินอาหารที่มีสังกะสีสูง (25)

หอยนางรม
เนื้อโค
ปูอลาสก้า
ลอบสเตอร์
หมูสับ

ถั่วอบ
ไก่ทอด
มะม่วงหิมพานต์
ถั่วชิกพี
เมล็ดฟักทอง
อัลมอนด์
ถั่วแดง

และโปรดจำไว้ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของคุณสั่งอาหารตามร้านและพนักนักงานถามว่า..ไม่ใส่ผักใช่ไหม..แล้วคุณตอบรับ นั่นเท่ากับ..

…คุณ..!! กำลังทำให้ลูกของคุณป่วย….

ด้วยรักและห่วงใยจากใจจริง

สวัสดี

อ้างอิง :

1 Journal of Biological Chemistry 2015; 290(28): 17599
2 American Journal of Clinical Nutrition, 2016
3, 4 Medical News Today, January 7 2017
5 University of Maryland Bulletin, March 2011
6 National Institutes of Health, Zinc
7, 8, 9 Linus Pauling Insitute Oregon State University, Copper
10 The American Journal of Clinical Nutrition 1998; 68(2): 4475
11 New York Times, February 15, 2011
12 Journal of Virology 2009; 83(1):58-64
13 Journal of Pakistan Medical Association 2000
14, 15 Prevent Disease, January 2017
16 Nutra Ingredients Nivember 2016
17 Nutrients 2016; 8(11): 707
18 Biological Trace Element Research 1984; 6(3): 263
19, 20 Taste and Smell Clinic February 2005 Zinc and Apoptosis
21 The Worlds Healthiest Foods, Can a Deficiency in Zinc Affect Sensory Organs
22 Frontiers in Bioscience 2011; 3:52-60
23 Investigative Ophthalmology and Vision Science 1999; 40(6):1238-1244
24 Journal of the American College of Nutrition 2001; 20(2):106-118
25 National Institutes of Health, Zinc

ขอบคุณบทความดีๆจาก   FB.Santi Manadee

บทความยอดนิยม

แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0