4 ระดับแผลเบาหวาน

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดในผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการชา หรือไร้ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้า 

จึงเป็นเหตุให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเกิดแผลมากขึ้น และเมื่อเกิดแผลเลือดก็จะไหลเวียนบริเวณแผลได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดทำงานผิดปกติด้วยเช่นกัน 

จึงทำให้แผลหายช้าหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบแผลเหล่านี้ที่บริเวณนิ้วโป้ง และเนินปลายเท้า ซึ่งหากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้องอาจนำไปสู่การตัดอวัยวะเนื่องจากการติดเชื้อได้ในที่สุด

อาการแผลเบาหวาน

อาการแผลเบาหวาน

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานจะไม่รู้ว่าตัวเองเกิดแผลเบาหวานขึ้น โดยเฉพาะแผลที่เท้า ซึ่งสัญญาณแรกๆ ของการเกิดแผลเบาหวานคือ อาจมีน้ำหนองไหลออกมามากผิดปกติ อวัยวะที่เกิดแผลมีอาการบวมแดงผิดปกติ และรู้สึกเจ็บหรือระคายเคือง และอาจมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ

ทั้งนี้ หากระบบเลือดไหลเวียนไปที่แผลไม่ดีเท่าที่ควรอาจทำให้เกิดภาวะเนื้อตาย  ซึ่งสังเกตเห็นได้จากผิวหนังที่เปลี่ยนสีกลายเป็นสีดำบริเวณรอบ ๆ แผล 

โดยมักจะเกิดขึ้นที่นิ้วเท้าเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะนำมาสู่การติดเชื้อ และทำให้มีหนองซึ่งมีกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากแผล เกิดอาการชา หรือเจ็บบริเวณแผลได้ในที่สุด โดยแผลเบาหวานนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

  • ระดับ 0 ไม่มีอาการของแผลเปื่อย
  • ระดับ 1 มีแผลเกิดขึ้นแต่ไม่มีอาการอักเสบ
  • ระดับ 2 แผลลึกจนเห็นเส้นเอ็นและกระดูก
  • ระดับ 3 แผลมีการลุกลามในบริเวณกว้าง และมีฝีเกิดขึ้น

ทว่าในผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับแผลจนกระทั่งแผลเกิดการอักเสบ 

ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องทำการสังเกตความผิดปกติของเท้า ว่ามีอาการบวมแดง หรือมีแผลใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีแผลก็ควรสังเกตว่าบริเวณแผลนั้นมีสีคล้ำลง และมีอาการเจ็บบริเวณแผลหรือไม่ หากพบควรรีบไปแพทย์โดยด่วนเพื่อลดความเสี่ยงการเน่าของเนื้อและผิวหนังบริเวณดังกล่าว

สาเหตุของแผลเบาหวาน

สาเหตุของแผลเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเบาหวาน เพราะเมื่อผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเพียงพอ น้ำตาลในเลือดจะไปทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทผิดปกติ ก่อให้เกิดภาวะเส้นประสาทเสื่อม นำมาสู่อาการชาหรือไร้ความรู้สึกที่บริเวณเท้าได้

เมื่อสูญเสียความรู้สึกบริเวณเท้าแล้วจะทำให้ผู้ป่วยแทบไม่รู้ตัวหากเกิดรองเท้ากัด รอยบาด หรืออุบัติเหตุที่เท้า ยิ่งไปกว่านั้นความเสียหายของหลอดเลือดจะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังหลอดเลือดส่วนปลายได้ไม่ดีนัก ก่อให้เกิดภาวะขาดเลือดเฉพาะที่ และแผลที่เกิดขึ้นจะมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด

ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเกิดแผลเบาหวานมากที่สุด นอกเหนือจากผู้ที่ควบคุมอาการเบาหวานได้ไม่ดี มักมีลักษณะอาการดังนี้

  • มีอาการของโรคเส้นประสาท
  • ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี
  • มักสวมใส่รองเท้าที่ไม่สบายเท้า
  • ติดนิสัยเดินเท้าเปล่า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด แผลเบาหวาน ได้คือ การสูบบุหรี่  การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ซึ่งหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรระมัดระวังในการเดิน หรือการสวมใส่รองเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว

โมดิ modi ดูแลเบาหวาน ทั้งเฉียบพลับและเรื้อรังสกัดจากสมุนไพรผ่านงานวิจัยปลอดภัย มี อย.

โมดิ modi
แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0