“เบาหวาน” เรื่องไม่เบา เด็กและวัยรุ่นควรใส่ใจ

 

 “เบาหวาน” เรื่องไม่เบา เด็กและวัยรุ่นควรใส่ใจนะคะ

 

รักษาเบาหวาน

 

                    เบาหวานไม่ได้ เป็นโรคที่เกิดกับผู้ใหญ่เท ่านั้น เด็กและวัยรุ่นก็เป็นเบาหวานได้ แนะสังเกตบุตรหลาน เช่นปัสสาวะบ่อย กินจุ ผอมลง ควรพบกุมารแพทย์ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน

                  โรคเบาหวาน อดีตเป็นโรคที่เรื้อรัง เนื่องจากร่างกายมีระดับน้ำ ตาลในเลือดสูง โดยปกติเวลาเรารับประทานอาห ารเข้าไป สารอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ ำตาลและร่างกายจะนำน้ำตาลไป ใช้ให้เกิดพลังงาน โดยการนำเข้าไปในเซลล์หรือหน่วยเล ็ก ๆ ของร่างกายเพื่อเอาไปเผาผลา ญ สารเคมีหรือฮอร์โมนที่ทำหน้ าที่เอาน้ำตาลเข้าเซลล์ คือ ฮอร์โมนอินสูลิน (Insulin) ที่สร้างและหลั่งมาจากตับอ่ อน แต่ปัจจุบัน เป็นเพียงโรคประจำตัวที่เมื ่อผู้เป็นเบาหวานสามารถจัดก ารตนเองให้ ควบคุมระดับน้ำตาลที่ใกล้เค ียงปกติ สามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

                 ในผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาล ไปใช้ได้ เนื่องจากร่างกายขาดอินสูลินหรืออินสูลินออกฤทธิ์ได้ไม ่ดี จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสู ง และผลที่ตามมาคือ “โรคเบาหวาน” กล่าวคือ ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะ และหากมีอาการรุนแรง ร่างกายจะสลายไขมันมาใช้เป็ นพลังงานแทนน้ำตาล สารที่ได้เรียกว่า “กรดคีโตน” ทำให้มีอาการหายใจหอบลึก และอาจทำให้ระบบหารหายใจล้ม เหลวได้

 

รักษาเบาหวาน_2

                 อย่างไรก็ดี ชนิดของ เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น มีชนิดย่อยหลายชนิด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 DM) พบได้ประมาณ ร้อยละ 70-80 ของเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น  อายุ น้อยกว่า 15ปี เบาหวานชนิดที่ 1 ในประเทศไทย จากข้อมูลล่าสุดมี ประมาณ 3 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั่วประเท ศ มีสาเหตุเกิดจากการที่ร่างก ายมีปฏิกิริยาต่อต้านเซลล์ข องตับอ่อนที่ทำ หน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลิน ได้ (ร่างกายขาดอินซูลิน) เมื่อแรกพบ ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำหนัก ลด ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ บางรายรุนแรงมีกรดคั่งในเลื อด

 

                 สาเหตุที่ตับอ่อนถูกทำลาย ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางการแพทย์คา ดว่า เกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์  การติดเชื้อบางอย่างเป็นตัว กระตุ้น การรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอิ นซูลินเข้าผิวหนัง วันละ 2-4 ครั้งและจัดการอาหารในแต่ละ มื้อให้สมดุลกับยาฉีดอินซูล ิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการรักษา ที่ทำให้หายขาด และยังไม่พบวิธีที่จะป้องกั นแพทย์และนักวิจัยต่างพยายา มหาวิธีป้องกันในเด็ก ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่น เด็กที่มีพี่น้องป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และวิธีการรักษาโดยการปลูกถ ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งยังต้องติดตามผลการวิจั ยต่อไป

 

                เมื่อใดควรมาพบแพทย์ เป็นคำถามที่ดี ถ้า บุตรหลานของท่านมีอาการผิดป กติที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ กินจุ ผอมลง ปัสสาวะมีมดตอม เป็นแผลหายช้า ติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือมีประวัติสมาชิกในครอบค รัวเป็นเบาหวาน หรือมีปื้นดำที่คอ ควรพาเด็กมาพบกุมารแพทย์เพื ่อตรวจวินิจฉัย

               วิธีการตรวจหาเบาหวาน จะตรวจจากเลือด ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอ ดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) มากกว่า หรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ถือว่าเป็น “เบาหวาน” หรือถ้าระดับน้ำตาลหลังอาหาร หรือ หลังกินน้ำตาล (ตามแพทย์สั่ง) เป็นเวลา 2 ชั่โมง มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็ถือว่าเป็นเบาหวานเช่นกัน

รักษาเบาหวาน_1

               ลองสังเกตดูนะคะว่า บุตรหลานของท่านมีปัจจัยเสี ่ยง หรืออาการที่เข้าได้กับเบาห วานหรือไม่ ถ้ามีควรมารับการตรวจวินิจฉ ัยจากกุมารแพทย์ตั้งแต่ระยะ เริ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนทางไต ตา และหลอดเลือดในอนาคตค่ะ

พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช “คุณก็ทำได้ แม้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1″

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ม.มหิดล เชิญชวนรับความรู้ในการดูแล สุขภาพ และประสบการณ์ตรงจากผู้เป็น เบาหวานชนิดที่ 1 จาก Mr.Jerry Gore นักปีนเขาระดับโลก ในการต่อสู้กับธรรมชาติและเ อาชนะตนเอง พร้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรีย นรู้มากมาย ในวันเสาร์ที่ 23 พ.ค.58 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (อาคารศูนย์วิจัย SiMR รพ.ศิริราช) รับจำนวนจำกัด สมัครได้ที่ ศูนย์เบาหวานศิริราช โทร. 0 2419 9568-9 (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)

ที่มา: เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 
โดย รศ.พญ.ไพรัลยา นาควัชระ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

 

mod-i

ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

บทความยอดนิยม

แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0