อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

ทานอาหารอย่างไรให้ถูกหลัก

วิธีการเลือกอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ คือ ได้รับสารอาหารที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดีและสำคัญที่สุด คือ ต้องถูกกับ “สภาวะ” ร่างกายของตัวเรา เช่น การเลือกทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน หรือ เย็น ให้ “สมดุล” กับธาตุของเรา ไม่ทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเดียว ตลอดทั้งวัน อย่ากินไปตามเขา ดูตัวเราก่อนนะคะ

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

ตัวอย่างอาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน 
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
– ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ 
– เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง

กลุ่มโปรตีน
– เนื้อ นม ไข่
– ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
– เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
– โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
– เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น

กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
– น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
– กะทิ เนื้อมะพร้าว
– งา รำข้าว จมูกข้าว
– เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
– ลูกก่อ เป็นต้น

กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
– กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
– ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
– ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก พริกไทย (ร้อนมาก) แมงลัก
– ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
– ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
– กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
– ผักโขม ผักแขยง
– คะน้า แครอท
– ชะอม
– บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
– แพงพวยแดง
– ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
– ลูกตำลึง ฟักทองแก่
– โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
– ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
– พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญเป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
– กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
– สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
– ขนุนสุก
– เงาะ
– ฝรั่ง
– ทุเรียน ทับทิมแดง
– น้อยหน่า
– มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
– ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
– ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
– สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
– องุ่น
– ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ นึ่ง ปึ้ง ย่าง ต้ม หรือตากแห้ง เป็นต้น

อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก
– อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
– อาหาร กลุ่มไขมัน
– เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
– พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
– อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
– อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
– อาหารใส่ผงชูรส
– สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
– วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
– ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
– เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
– ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
– อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
– ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
– ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
– น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด
************

อาหารฤทธิ์เย็น
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
– น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่. เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
สำหรับ น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ

กลุ่มโปรตีน
– ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย
– เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม(เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก

กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
– กระหล่ำดอก ก้านตรง กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม
– หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ก้างปลา
– ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค
– ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ใบ/ยอดตำลึง
– ถั่วงอก
– บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บล๊อกเคอรี่ บวบ
– ปวยเล้ง ผักปลัง
– พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
– ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่างๆ
– มะละกอดิบ-ห่าม มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเดื่อ มะอึก ใบมะยม ใบมะขาม
– มังกรหยก มะรุม ยอดมะม่วงหิมพานต์
– ย่านางเขียว-ขาว
– รางจืด
– ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ทูน (ตูน) ว่านง็อก (ใบหูลิง) ผักว่าน
– โสมไทย ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ
– หมอน้อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เหงือกปลาหมอ ผักโหบแหบ
– อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ยอดอีสึก (ขุนศึก) อีหล่ำ

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
– กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน
– แคนตาลูป
– ชมพู่ เชอรี่
– แตงโม แตงไทย
– ทับทิมขาว ลูกท้อ
– มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ-ห่าม มะขามดิบ
– น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว
– ลางสาด
– สับปะรด สตรอเบอรี่ สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง สมอไทย
– ลูกหยี หมากเม่า หมากผีผ่วย
– แอปเปิ้ล

(ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม ๒ “ความลับฟ้า: ถ้าสุขภาพพึ่งตนเกิดไม่ได้ หมอและคนไข้จะพากันป่วยตาย”โดย ใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว))

 
 
 
 

บทความยอดนิยม

green curmin ราคา
แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0