รู้จัก กรดไหลย้อน 3 ระยะ

กรดไหลย้อน 3 ระยะ อย่างแรกจะมาพูดถึงโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเกิดการไหลย้อนขึ้นไปที่ หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการแสบร้อนกลางอก (แสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน) เรอเปรี้ยว เป็นต้น และกรดไหลย้อน ถ้าแบ่งตามความรุนแรงและผลกระทบ จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ โดยจะมี ระยะแรกหรือที่เรียกว่าระยะเบื้องต้น ระยะสองหรือระยะเกี่ยวกับปัญหาลำไส้ และระยะสุดท้ายหรือที่เรียกว่าระยะที่สารอาหารในเลือดน้อย

เข้าใจ กรดไหลย้อน 3 ระยะ

ระยะที่ 1 : ระยะอาการเบื้องต้น

กรดไหลย้อนระยะที่1

             เกิดจากกระเพาะอาหารเกิดการอ่อนแอลง มักจะแสดงอาการออกมาไม่มาก เช่น มีลมในท้องและลมก็ดันออกมา มีลมตามตัวมักจะส่งผลให้ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากทานอาหารในปริมาณปกติจะมีความรู้สึกแน่นผิดปกติ เกิดอาการแสบท้องเล็กๆน้อย ระยะนี้อาจจะมีผลกระทบไปถึงการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและจะแสบๆกระเพาะอาหารบ้างเป็นบางเวลา

การรักษาของระยะที่ 1 :

  1. หมั่นรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อจะให้กระเพาะปรับเวลาในการหลั่งน้ำย่อยได้
  2. ควรรับประทานอาหารเช้าไม่เกิน 9:00 เพราะเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  3. ลดการดื่มน้ำจำพวก เช่น น้ำเย็น ชา กาแฟ น้ำอัดลม นม น้ำเต้าหู้ ขณะทานอาหาร เพราะจะไปส่งผลทำให้น้ำย่อยเจือจางและทำให้การทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพเต็มที่
  4. ไม่ควรรับประทานอาหารเย็นเกิน 20:00 หรือ 2 ทุ่ม เนื่องจากช่วงเวลานั้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหารเริ่มมีปริมาณน้อยลง ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น น้ำนมข้าว หรือเครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูป เนื่อจากเกิดการดูดซึมได้ง่าย
  5. ไม่ควรทานผลไม้เช่น แตงโม มะพร้าว ส้ม หรือผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นก่อนจะรับประทานอาหาร

ระยะที่ 2 : ระยะเกี่ยวข้องกับปัญหาลำไส้

กรดไหลย้อนระยะที่2

              ระยะที่สองมักจะมีการเกิดตัวพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์ที่รอทำลายอุจจาระที่ตกค้าง เลยส่งผลให้แก๊สมีจำนวนมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดการท้องผูก หรือท้องอืดอย่างรุนแรงส่งผลทำให้ท้องป่องมากขึ้น มักจะมีอาการตามมาเช่น คันตามตัวมากขึ้น เพราะจุลินทรีย์ที่ตกค้างมากเกินไป มีการผายลมและถ่ายอุจจาระหลายๆครั้ง จะรู้สึกจุกแน่นท้องทั้งวัน บางทีอาจจะมีอาการเรอเปรี้ยวหรือว่า ขมปากตามมา

การรักษาของระยะที่ 2 :

  1. ลดเครื่องดื่มจำพวก นมวัว เนื่องจากจะไปเลี้ยงจุลินทรีย์ และสร้างแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  2. ไม่ควรรับประทานยาที่เกี่ยวกับการลดกรด เพราะว่าต้องให้กรดหลั่งออกมาตามปกติ
  3. ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  4. ควรเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวก น้ำมะพร้าว น้ำแตงโม ผักปั่น น้ำส้มคั้น หรือน้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เพราะจะไปส่งผลให้กระบวนการย่อยไม่ดี

กรดไหลย้อนระยะที่ 3 : ระยะที่สารอาหารในเลือดมีปริมาณน้อย

กรดไหลย้อนระยะที่3

สาเหตุเพราะว่าระยะนี้อวัยวะต่างๆได้มีคุณภาพลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากอวัยวะในร่างกายของเราได้เจอกับกระบวนการย่อยไม่ดีมานานในช่วงเวลาหนึ่ง 

ระยะนี้สารอาหารในเลือดจะมีปริมาณที่น้อยมากๆ และมีคนเป็นกันจำนวนที่มาก จึงส่งผลไปถึงการรักษาให้หายได้ยากขึ้น เพราะโดยโรคแล้วจะเป็นระยะที่ต้องใช้เวลาในการรักษากว่าจะให้หายขาดหรือดีขึ้นเร็วๆก็ยากพอกัน 

และยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุจจาระของเราที่มีการตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นจำนวนมาก 

จึงส่งผลเสียไปถึงอวัยวะต่างๆในร่างกายอีกด้วย เช่น ม้าม ไต ลำไส้เล็ก และตับ ทำให้เกิดอาการจุกที่คอเป็นเวลาบ่อยครั้ง หรือจะเป็นอาการที่มึนหัว เนื่องจากสารอาหารในเลือดที่มีปริมาณน้อย

และในระหว่างวันจะมีอาการเพลีย หรือง่วงตอนเช้า และมีอาการต่างๆที่ร่วมด้วยอย่าง เช่น มีความอยากที่จะทานอาหารบ่อยๆ แสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือมีความรู้สึกว่ามีลมที่ดันขึ้นมา  ในบางรายที่มีลมดันขึ้นมาในปริมาณมากๆนั้นอาจจะมีอาการที่ต้องการจะเข้าห้องน้ำเพื่อไปปัสสาวะบ่อยๆเนื่องมาจากว่าลมได้ไปกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาของระยะที่ 3 :

  1. ต้องรักษาโดยการบำรุงเม็ดเลือดแดง เพราะระยะนี้เป็นระยะที่มีสารอาหารในเลือดเป็นจำนวนน้อย
  2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และรับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในมื้อเช้าควรเลือกรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยว ไม่อย่างนั้นกระเพาะอาหารและม้ามจะเกิดอาหารอ่อนแอลง
  3. ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก เนื่องจากจะทำให้ย่อยยากและเกิดก่อให้เกิดอุจจาระตกค้าง
  4. ควรเดินออกกำลังกาย ยืดเหยียดเพื่อลดความเครียดและความกังวล  แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักเนื่องจากสารอาหารในเลือดยังมีปริมาณน้อย

ข้อสรุปสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อรู้ว่าตนเองเป็นกรดไหลย้อน

  1. รับประทานอาหารให้ตรวเวลาและควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และทานในปริมาณที่พอเหมาะ
  2. ไม่ควรรับประทานผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็นขณะรับประทานอาหารเนื่องจากจะไปส่งผลให้กระเพาะอาหารทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
  3. ควรเลี่ยงอาหารจำพวก ชา กาแฟ นมวัวหรือน้ำเต้าหู้ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดน้ำย่อยออกมาผิดเวลา หรือเกิดลมมากเกินไป
  4. ลดเครื่องดื่มที่มีพวกจุลินทรีย์ เนื่องจากจุลินทรีย์จะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะจำนวนมากขึ้น
  5. ไม่ควรทานอาหารรสจัด
  6. ควรออกกำลังกายที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เพื่อจะช่วยให้ลมคลายตัว เป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์

บทความยอดนิยม

แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0