อาการที่พบบ่อยในกลุ่มของผู้ป่วยกรดไหลย้อนขึ้นคอจะมีดังนี้

  1.  จะเสียงที่แหบหรือเสียงเปลี่ยนไป
  2.  เริ่มมีการกระแอมบ่อยๆ
  3.  มักจะมีเสมหะมากในลำคอ
  4.  รู้สึกกลืนลำบาก
  5.  ไอบ่อย หลังจากรับประทานอาหารหรือนอน
  6. มีอาการสำลักหรือหายใจไม่ออก
  7. บางรายมีอาการไอบ่อยๆ
  8. บางคนรู้สึกมีอะไรติดหรือมีก้อนในคอ
  9. มีอาการแสบร้อนยอดอก อาหารไม่ย่อย เรอเปรี้ยว

ภาวะกรดไหลย้อนที่กล่องเสียงและช่องคอ

เนื่องจากสถิติเมื่อปี 2550  ได้ตรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีมีความผิดปกติสามารถตรวจพบได้ร้อยละ 10 และพบบ่อยเป็นอันดับที่ 4 ในแผนกผู้ป่วยนอกโรค หู คอ จมูก ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียงและช่องคอมีความบอบบาง และไม่ทนต่อกรดจากกระเพาะอาหาร แม้จะเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการแสบร้อนหรือจุกแน่นยอดอก ปวดท้อง หรือมีอาการของโรคกระเพาะ เรอเปรี้ยว และรู้สึกอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารหรือช่องคอ ซึ่งเป็นอาการสำคัญของภาวะกรดไหลย้อนที่หลอดอาหาร (Gastroesophageal reflux,GERD)

แนวทางการรักษาอาการ

การรักษาอาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลักคือ

1.รักษาโดยการทานยา

การรักษาโดยการทานยานั้นหลังจากที่มีอาการแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองงั้นเป็นกรดไหลย้อนในระยะไหน และให้ฟังคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะแนะนำให้เราปฏิบัติตัวเพื่อที่เราจะได้ทานยาเพื่อทำการรักษาได้อย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง

โดยแนะนำไม่ให้ผู้ป่วยทำการซื้อยาทานเองเพราะอาจจะไม่ถูกต้องกับโรคที่เป็นอยู่และทำให้มีอาการที่กำเริบและเป็นมากขึ้นก็ได้ 

2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของการรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อนไม่ว่าจะเป็นระยะที่เท่าไหร่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้นๆเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ต้องทานยาแต่ก็สามารถหายจากอาการของโรคกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน แต่จะต้องมีวินัยและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด 

โดยหลักๆแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็มักจะเน้นไปที่การทานอาหารเป็นหลักก่อน โดยเราจะต้องแบ่งได้ว่าอาหารประเภทไหนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน หรือแม้แต่การทานอาหารเป็นจำนวนมากก็เป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง เพราะกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้นมักจะมีระบบการย่อยอาหารที่ผิดปกติจึงส่งผลให้ในบางครั้งที่ทานอาหารเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะแน่นและอึดอัด

ระยะเวลาในการรักษากรดไหลย้อน

ระยะเวลาในการรักษากรดไหลย้อนเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมองและพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อน มักจะคิดว่าตัวเองเพิ่งจะมีอาการ หรือในบางรายก็มักจะบอกว่าเพิ่งจะเป็นเมื่อ 1-2 วันที่แล้ว เลยคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นมาก

ดังนั้นเมื่อเริ่มทำการรักษาอาการก็มักจะใจร้อนและคิดว่าทำไมถึงหายช้าจัง โดยลืมคิดไปว่ากว่าที่อาการของโรคกรดไหลย้อนจะกำเริบขึ้นมาจนทำให้เราจะต้องทำการรักษานั้นจะต้องใช้ระยะเวลาในการสะสมอาการมามาก จนร่างกายทนไม่ไหวแล้วและจึงแสดงอาการออกมา 

ดังนั้นการรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา โดยปกติแล้วทางการแพทย์จะระบุไว้ประมาณ 4-8 สัปดาห์ ที่จะต้องทานยาเพื่อทำการรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการที่จะรักษาและให้มีผลลัพธ์ที่ชัดเจนนั้นการปฏิบัติตัวในระหว่างการรักษานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพราะเมื่อเราทำการรักษานั้นเราก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายๆอย่างเพื่อให้อาการนั้นดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 


รักษากรดไหลย้อนด้วยสมุนไพร กรีนเคอมิน และ เคอม่าแม๊กซ์

บทความแนะนำ

แชร์ให้เพื่อนคุณ
Share on facebook
Facebook
0
Share on google
Google
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
0