โดยปกติ กรดไหลย้อนจะไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่หากอาการของโรคเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
… ทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก มีอาการกลืนลำบาก ไอ น้ำหนักลด หรืออุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลให้หลอดอาหารเกิดความเสียหายรุนแรงได้
สัญญาณของโรคกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยอาการที่พบได้ มีดังนี้
- แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน
- เรอบ่อย เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ
วิธีรับมือภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์
ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารเป็นมื้อย่อย ควรแบ่งมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นและลดปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง รวมทั้งเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
- ไม่นอนหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จ ควรหากิจกรรมขยับเขยินร่างกาย อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารแล้วนอน
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว อาหารรสจัด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
- ใช้หมอนหนุนบริเวณลำตัวส่วนบนระหว่างนอนหลับ เพื่อให้หลอดอาหารอยู่สูงกว่ากระเพาะอาหาร ป้องกันกรดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร และควรนอนตะแคงซ้าย เพราะการนอนตะแคงขวาจะทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอยู่เหนือหลอดอาหาร
- ควบคุมน้ำหนัก การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้
- ใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้มีกรดเกินไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารน้อยลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว
ดูแลอาการกรดไหลย้อนและโรคกระเพาะ ด้วยสมุนไพร กรีนเคอมิน
บทความยอดนิยม